SUPPORT
About Us
ข้าว
-
การเตรียมดิน โดยการใช้รถไถปั่นตอซังข้าว แล้วปล่อยน้ำเข้านาให้ท่วม หมักไว้ประมาณ 15 วัน
-
ถ้าต้องการให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้น อาจจะหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 หรือ น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำหมักสรรพสิ่ง ก็ได้
-
เมื่อครบ 15 วันแล้ว ถ้าน้ำในนายังมากให้สูบน้ำออก พอมองเห็นพื้นนา
-
ให้ทำการปรับพื้นนาให้เรียบ โดยใช้รถไถเดินตาม ทำการขุบ หรือกดตอซังลงให้เสมอกัน ใช้น้ำในนาวัดระดับ
-
นำกล้าข้าวอายุ 12 วัน มาโยนกล้า แบบปาเป้า
-
3 วัน ต้นข้าวจะตั้งตัวได้
-
ปล่อยน้ำเข้านาสูงประมาณ 5-10 ซม. เพื่อคุมหญ้า (ช่วงนี้ถ้าเป็นนาหว่าน จะฉีดยาดูดซึมฆ่าหญ้า เพราะหญ้ากับต้นข้าวจะงอกพร้อมกัน ต้นหญ้าตาย แต่ต้นข้าวไม่ตาย และจะดูดซึมยาอันตรายไว้ในต้นข้าว และในเมล็ดข้าว)
-
วันที่ 10 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ขึ้นอยู่สภาพดิน ถ้าเป็นนาดินเหนียว ใช้สูตร 16-20-0
-
ต่อจากนี้ไปทุก 10 วัน หรือ 15 วัน ให้ฉีดปุ๋ยน้ำหมัก ผสมน้ำหมักสะเดา หรือน้ำหมักรสขม รสเปรี้ยว รสเผ็ด ไล่เพลี้ย ไล่แมลง และผสมน้ำหมักฮอร์โมนไปด้วย อัตราผสม น้ำหมัก 1 ส่วน : น้ำ 20 ส่วน ฉีดไร่ละ 2 ถัง ๆ ละ 20 ลิตร
-
ต้นข้าวอายุ 30-35 นับจากวันเพาะกล้า สูบน้ำออกจากนาปล่อยให้ดินแตกระแหง เพื่อไล่เพลี้ยกระโดด ไล่หอยเชอร์รี่ และัทำใช้รากข้าวแข็งแรง หยั่งรากได้ลึก เพื่อหยั่งรากหาน้ำ (ช่วงนี้ถ้าเป็นนาหว่าน ที่ไม่มีระบบควบคุมน้ำ จะฉีดยาเคมี ฉีดฆ่าเพลี้ย ฆ่าเชื้อรา อีกครั้ง)
-
ต่อจากนั้นประมาณ 7 วัน (แล้วแต่สภาพดิน) ถ้าสังเกตุเห็นใบข้าวในตอนเช้าเหี่ยวใบตก ให้หว่านปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือ ขึ้นอยู่สภาพดิน ถ้าเป็นนาดินเหนียว ใช้สูตร 16-20-0 อีกครั้งหนึ่ง ปุ๋ยจะตกลงไปตามร่องดินที่แตกระแหง ลึกลงไปถึงรากข้าว
-
ปล่อยน้ำเข้านาสูงประมาณ 5-10 ซม. ต้นข้าวจะแตกกอออกมาดีมาก
-
ช่วงข้าวออกดอก อายุข้าวประมาณ 60 - 80 วัน (แล้่วแต่ัพันธุ์ข้าว) งดฉีดน้ำหมักไล่แมลง งดฉีดฮอร์โมน เื่พื่อไม่ไปรบกวนเกษรข้าว
-
เมื่อข้าวออกรวงสมบูรณ์แล้ว ให้ฉีดน้ำหมักไล่แมลง และฮอร์โมน ได้จนถึงก่อนวัีนเก็บกี่ยว 20-30 วัน
-
ก่อนวัีนเก็บกี่ยว 20-30 วัน ให้สูบน้ำออกจากนาให้แห้ง เพื่อให้ข้าวในนาสุกพร้อมกันทั้งแปลง
ผักหวาน
การดูแลต้นผักหวานป่า ที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ ก็เริ่มตั้งแต่การนำเมล็ดต้นผักหวานป่า ไปปลูกลงในหลุมดิน หรือปลูกในถุงเพาะ อย่างแรกก็ต้องหมั่นรดน้ำ อย่าให้ดินบริเวณหลุมหรือถุงเพาะแห้งเป็นอันขาด ระยะนี้รากของต้นผักหวานป่ากำลังแทงรากลงไปในดินในระดับแนวดิ่ง อาจจะใช้เวลาหลายวัน และอาจจะนานเป็นเดือน และเมื่อรากลงลึกในระดับหนึ่งแล้ว ต้นผักหวานป่าก็จะแทงยอดพ้นดินขึ้นมาให้เห็น
ถ้าเราปลูกต้นผักหวานป่า จำนวนมากๆ และหลังจากที่ต้นผักหวานป่าเริ่มแทงยอดพ้นดินขึ้นมาแล้ว หลุมไหนหรือถุงเพาะถุงไหนยังไม่เห็นยอดต้นผักหวานป่า แทงยอดขึ้นมาอย่าเพิ่งรีบทิ้ง ให้ดูแลต่อไปอีกระยะหนึ่ง บางที่อาจจะมีต้นผักหวานป่าหลงแทงยอดขึ้นมาให้เห็นได้อีก ดูแลรดน้ำต่อไปตามปกติ
การปลูกต้นผักหวานป่าภายใต้ร่มเงาของไม้พี่เลี้ยง น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เป็นการให้ต้นไม้ดูแลกันเอง ตามกลไกของธรรมชาติ และธรรมชาติของต้นผักหวานป่าเอง กว่าที่จะเอาตัวรอดได้ อาจจะใช้เวลา 2-3 ปี ลองนึกภาพดูถ้าเราปลูกต้นผักหวานป่าโดยไม่พึ่งไม้พี่เลี้ยง โดยใช้วิธีการสร้างตาข่ายล้อม หรือใช้ตะกร้าครอบไว้ ต้นผักหวานป่าโตขึ้นทุกวัน และใหญ่ขึ้นทุกเดือน เราก็จะต้องเปลี่ยน ภาชนะบ่อยๆ สิ้นเปลืองรายจ่ายโดยไม่จำเป็น
การดูแลต้นผักหวานป่าในระบบนิเวศ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบธรรมชาติ นั้นไม่ยุ่งยาก ให้น้ำให้ปุ๋ยตามกำหนดเวลา เมื่อมีแมลงหรือหนอนผีเสื้อมากัดกินยอดและใบของต้นผักหวานป่า ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลงหรือยาไล่แมลง เพราะว่าแมลงหรือหนอนผีเสื้อ กำลังตัดแต่งต้นผักหวานป่า ให้แตกกิ่งแตกยอด ขึ้นมาเองโดยไม่ต้องเหนื่อย
มีเกษตรกรบางรายใช้ยาฆ่าหญ้า ในแปลงปลูกต้นผักหวานป่า อาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี อย่างแรกแมลงที่มีประโยชน์ต่อต้นผักหวานป่า อาจจะต้องตาย อย่างที่สองต้นผักหวานป่าอาจจะได้ผลกระทบทางอ้อม เติบโตช้าและอาจจะตายได้ อย่างที่สามพืชที่เป็นวัชพืชบางชนิด ช่วยคลุมดินรักษาหน้าดิน และรักษาความชื่นให้กับรากและต้นผักหวานป่า ทางที่ดีปล่อยให้วัชพืชขึ้นไปอย่างนั้นแหละ เพียงแต่คอยอย่าให้วัชพืชบังแสงก็พอ รอไปจนกว่าต้นผักหวานป่าอายุ 4-5 ปี ถึงค่อยมาว่ากันใหม่
หลังจากปลูกต้นผักหวานป่า ผ่านไปแล้วครึ่งปี ถึงตอนนี้มั่นใจได้ว่า ต้นผักหวานป่ารอดตายแล้ว ดังนั้นการให้น้ำและปุ๋ย ยังคงให้เหมือนเดิม เน้นเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก นอกจากจะประหยัดแล้ว ต้นผักหวานป่าน่าจะชอบมากกว่า ปุ๋ยเคมี และสุดท้ายอย่าลืมดูแลไม้พี่เลี้ยงด้วย อนาคตได้กินยอดผักหวานป่า และขายยอดผักหวานป่าแน่นอน…
กาแฟ
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นที่ๆมีความสูง ประมาณ 100-12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ความลาดชันไม่เกิน 50% ทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง เตรียมทำแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มทำ
ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟในฤดูฝนที่จะมาถึง(ประมาณมิถุนายน-กรกฎาคม)
ทำแนวระดับโดยใช้อุปการณ์ช่วยเช่นไม้รูปตัวเอเขาควายหรือระดับน้ำ ทำแนวปลูกกาแฟโดยมีระยะระหว่างต้น
2 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความลาดชัน โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ขุดหลุมปลูกกาแฟขนาด
0.5x0.5x0.5เมตร(หรือ 1 X 1 X 1 ศอก) แยกหน้าดินกับดินก้นหลุมออกจากกัน หน้าดินจะใช้ผสมใส่ลงที่ก้นหลุม
ขุดหลุมปลูกกาแฟขนาด0.5x0.5x0.5เมตร(หรือ 1 X 1 X 1 ศอก) แยกหน้าดินกับดินก้นหลุมออกจากกัน
หน้าดินจะใช้ผสมใส่ลงที่ก้นหลุม
ขั้นตอนที่ 2 การปลูก
นำต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมความสูงประมาณ 45-50 ซม. มีใบ 6-8 คู่ สมบูรณ์แข็งแรง ผ่านการฝึกให้
้ ทนทานต่อแสงแดดจัดและการขาดน้ำในเบื้องต้น แล้วนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้แน่น
ใช้ไม้ปักกันลมโยกคลอน
ยางพารา
ชนิดของต้นพันธุ์ยาง
1. ต้นตอตา คือ ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดีหลังจากที่ติดตาเรียบร้อยแล้ว จึงถอนขึ้นมาตัดแต่งราก และตัดต้นเดิม เหนือแผ่นตาประมาณ 2 ฝ นิ้วทิ้ง แล้วนำต้นตอที่ได้ไปปลูกทันที ต้นตอตาจะเป็นต้นพันธุ์ที่ไม่มีดินห่อหุ้มรากหรือเรียกว่าต้นเปลือกราก
2. ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง คือ ต้นตอตาที่น้ำมาชำในถุงพลาสติกขนาดกว้าง 4 ฝ นิ้วยาว 14 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ที่บรรจุดินไว้เรียบร้อยแล้ว ดูแลบำรุงรักษาจนตาแตกออกมาเป็นใบได้ขนาด 1-2 ฉัตร อายุประมาณ 3-5 เดือน และมีใบในฉัตรยอดแก่เต็มที่
3. ต้นยางที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง คือ การปลูกสร้างสวนยางโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงโดยตรง เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมจึงทำการติดตาในแปลงปลูก
ต้นพันธุ์ยางทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วเหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนะนำให้ปลูกด้วยต้นยางชำถุงเพียงอย่างเดียวเท่า นั้น
วิธีปลูก การ ปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ การปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้ จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน
1. การปลูกด้วยต้นตอตา นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็ม ด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลาง หลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี
2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง
2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้ นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก
2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดิน เดิมก้นหลุมจัดต้นยาง ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุม ดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย
การเตรียมหลุมปลูก
หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม
ระยะปลูก
1. พื้นที่ราบ ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่ ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่
2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อ ไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม
การปลูกซ่อม
หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้
ฤดูการปลูกยางพารา
ในพื้นที่ชุ่มชื้น เขตปลูกยางเดิม ช่วงฤดูแล้งเริ่มเข้าฤดูแล้ง เดือนมกราคม เตรียมพื้นที่เก็บไม้ออกจากพื้นทีให้หมด ไถพรวนและวางแนวขุดหลุมปลูก ถ้าผสมปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม ควรให้เสร็จก่อนปลูกยางในฤดูฝน 1 เดือน ฝนเริ่มมาเดือน พฤษภาคม ถ้าพื้นที่มีความชื้นเพียงพอก็สามารถปลูกต้นยางชำถุงได้ การปลูกต้นตอควรมีความชื้นเต็มที่ขณะปลูกไม่น้อยกว่า 2 เดือน หลังปลูก 15 วัน ถึง 1 เดือนควรปลูกซ่อม ต้องปลูกซ่อมให้เสร็จก่อนหมดฝนอย่างน้อย 2 เดือน ในช่วงกลางฤดูฝนมักจะ มีฝนทิ้งช่วงให้ฝักของเมล็ดยางแห้งแตกร่วงหล่น การตกของเมล็ดยางช่วงนี้เรียกว่า เมล็ดยางในปี(เป็นเมล็ดที่สำคัญในการ ขยายพันธุ์ยาง) ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เมล็ดยางเหล่านี้นำมาปลูกทำกล้ายางเพื่อติดตาในแปลง ปลูก หรือนำไปทำเป็นวัสดุปลูกขยายพันธุ์ต่อไป
พื้นที่ปลูกยางใหม่เขตแห้งแล้ง(ฤดูฝนสั้นกว่าเขต ปลูกยางเดิม) ควรปลูกยางในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน ด้วยต้นยางชำถุง 2 ฉัตร ปลูกซ่อมด้วยวัสดุปลูกอย่างเดียวกันให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยปรกติเขตแห้งแล้ง ฝนเริ่มมาเดือนพฤษภาคม ฝนจะทิ้งช่วงให้เมล็ดยางในปีร่วงหล่น เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หมดฝนเข้าสู่ฤดูหนาวเดือน พฤศจิกายน
ข้อระวังในการปลูก
1. หลังจากปลูกยางแล้วถ้ามีฝนตกหนัก ให้ออกตรวจดูหลุมปลูกยาง ถ้าหลุมปลูกยางต้นใดที่ปลูกแล้วเหยียบดินไม่ แน่น จะทำให้ดินยุบเป็นแอ่ง ซึ่งจะขังน้ำ และอาจทำให้โคนต้นยางบริเวณคอดินไหม้ และต้นยางตายได้ ดังนั้นจึงต้องเกลี่ยดิน บริเวณปากหลุม ให้เรียบอยู่เสมอในช่วงที่มีฝนตกหนัก
2. ขณะโกยดินลงก้นหลุม อย่าให้ดินกระแทกต้นยางแรงๆ เพราะอาจจะทำให้ต้นยางฉีกหรือหัก ซึ่งจะทำให้ต้นยางตาย ถ้าปลูกด้วยความระมัดระวังตามสมควร ก็จะทำให้อัตราการตายของต้นยางหลังปลูกต่ำมาก
3. ทิศทางการหันแผ่นตา การปลูกยางชำถุง หรือต้นตอตา ลงแปลงสวนยาง ควรหันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตก เพื่อ ป้องกันอาการไหม้แสงแดดที่โคนต้นยาง หลังจากส่วนลำต้นของต้นตอเดิมหลุดออกไป ถ้ามีอาการไหม้แสงแดด ให้ใช้สีน้ำมัน ทาทับป้องกันเชื้อรามอดแมลงเข้าทำลาย ทำให้ต้นยางไม่แข็งแรงลมพัดหักได้ง่าย
มันสำปะหลัง
1. การเตรียมดิน
หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน 3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่
2. การเตรียมท่อนพันธุ์
ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 1.6 ขีด (160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน 20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก
3. การปลูก
ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.
4. การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช
สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม) ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง
5. การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย
กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)
6. การเก็บเกี่ยว
ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป
อ้อย
เทคโนโลยีการปลูก
การเลือกทำเลพื้นที่ปลูก
1. ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร
2. ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
3. การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
--------------------------------------------------------------------------------
การเตรียมท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง
2. ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก
3. ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้
--------------------------------------------------------------------------------
วิธีการปลูก
1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
2. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
การใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม (เอ็น พี เค) ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ
1. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่
2. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
--------------------------------------------------------------------------------
การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนี้
1. ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
2. ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้อง ฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในขณะที่ดินมีความชื้น หัวฉีดควรเป็นรูปพัด นอกจากนี้สามารถคุมวัชพืชโดยปลูกพืชอายุสั้นระหว่างแถวอ้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากจะช่วยคุมวัชพืชแล้ว อาจเพิ่มรายได้และช่วยบำรุงดินด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน
--------------------------------------------------------------------------------
การบำรุงตออ้อย
1. ทำการตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันที หรือเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าตัดอ้อยชิดดิน ก็ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย ทำให้ประหยัดเงินและเวลา
2. ใช้พรวนเอนกประสงค์ 1-2 ครั้ง ระหว่างแถวอ้อยเพื่อตัดและคลุกใบ หรือใช้คราดคราดใบอ้อยจาก 3แถวมารวมไว้แถวเดียว เพื่อพรวนดินได้สะดวก
3. ใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อระเบิดดินดาน ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้นในดินด้วย
4. การใส่ปุ๋ย ควรใส่มากกว่าอ้อยปลูก ใช้สูตรเช่นเดียวกับอ้อยปลูก
5. ในแปลงที่ไม่เผาใบอ้อยและตัดอ้อยชิดดิน ก็จะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ และเริ่มดายหญ้าใส่ปุ๋ยเมื่อเข้าฤดูฝน
6. การไว้ตออ้อยได้นานแค่ไหนขึ้นกับหลุมตายของอ้อยว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีหลุมตายมาก ก็จะรื้อปลูกใหม่.
Orders, Shipping & Returns





